ECT_ Knowledge

                                                                 

                                                                      


1.what s webbg

A blog (a contraction of the words web log)is a discussion or informational site published on the World Wide Web and consisting of discrete entries ("posts") typically displayed in reverse chronological order (the most recent post appears first). Until 2009 blogs were usually the work of a single individual, occasionally of a small group, and often covered a single subject. More recently "multi-author blogs" (MABs) have developed, with posts written by large numbers of authors and professionally edited. MABs from newspapers, other media outlets, universities, think tanks, interest groups and similar institutions account for an increasing quantity of blog traffic. The rise of Twitter and other "microblogging" systems helps integrate MABs and single-author blogs into societal newstreams. Blog can also be used as a verb, meaning to maintain or add content to a blog
.
บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"



2.Free weblog
https://www.blogger.com/
http://www.myspace.com/
http://www.livejournal.com/
http://wordpress.com/
http://geocities.yahoo.com/
http://www.filefront.com/
http://my.opera.com/community/
http://www.vox.com
http://9rules.com/
http://www.newsisfree.com/
http://peopleconnection.aol.com/blogs
http://www.xanga.com/
http://members.freewebs.com/
http://www.bravenet.com/webtools/journal/






วิธีการสร้าง Blogger

ขั้นตอนที่ 1

     เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูปตรับ

ขั้นตอนที่ 2

     จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 3

     ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริงนะครับ

ขั้นตอนที่ 4

     คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่ตามรูปครับ



ขั้นตอนที่ 5

     พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปนะครับ    จากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไปครับ      เลือกแม่แบบตามใจชอบได้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 6

    คลิกปุ่มตามรูปเลยครับ

ขั้นคอนที่ 7

    ใส่ข้อมูลต่างๆเลยครับ

ขั้นตอนที่ 8

     คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึกได้เลยครับ


ที่มา....
       thelegendblogger.blogspot.com/
      chonlatan.blogspot.com/2007/07/blog_12.html




มารยาทการเล่นเฟซบุค



เป็นเพียง "ข้อควรปฏิบัติ" สำหรับการใช้เฟซบุคอย่าง "สร้างสรรค์" นะครับ ไม่ใช่ "ข้อบังคับกะเกณฑ์" อะไร แต่ถ้าทำได้ก็จะดีไม่น้อย

1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคายระดับรุนแรง คำด่าระดับรุนแรง หากจำเป็นต้องใช้ ควรเปลี่ยนเสียงพยัญชนะหรือใส่จุดแทนพยัญชนะบางตัว เช่น เ...ี้ย เป็นต้น

2. เมื่อแอดใครไป เขารับแอดแล้ว ควรไปโพสต์ขอบคุณ ยินดีที่ได้รู้จัก และแนะนำตัวสำหรับคนที่เพิ่งได้รู้จักกัน หรือแม้แต่คนที่รู้จักกันอยู่แล้วก็ควรเข้าไปทักทาย

3. ไม่ควรสอดรู้สอดเห็นเรื่องส่วนตัว เรื่องแฟนหรือเรื่องในครอบครัวของเพื่อนในเฟซบุคเว้นแต่เจ้าตัวไม่ประสงค์จะปกปิด

4. ควรไปอวยพรวันเกิดเพื่อนในเฟซบุค (หรือเฉพาะคนที่เรารู้จักตัวจริง) อย่าได้บกพร่อง ถ้าลืมก็ควรไปอวยพรย้อนหลัง

5. ถ้าไม่อยากใช้รูปตัวเองเป็นรูปโพรไฟล์ ควรมีรูปจริงของตัวเองอยู่ในอัลบั้มรูปอื่น ๆ ให้สำหรับคนที่เราแอดไปดูได้ว่าเราคือใคร

6. ควรระบุบอกให้แน่ชัดว่าเจ้าของเฟซเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

7. กด like หรือ ถูกใจ เมื่อชอบ การแสดงความคิดเห็นควรดูทิศทางลมให้ดี ไม่ควรกวนประสาทเจ้าของโพสต์

8. การ share หรือ แบ่งปัน link โพสต์หรือรูปภาพของผู้อื่นควรบอกกล่าวขอแชร์ก่อน หรืออย่างน้อยที่สุดควรกด like ให้ก่อน

9. ผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง ไม่ควรใช้เฟซบุคเพื่อ "ส่อง" ผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกหลาน

10. ไม่ควรแอดใครไปยังกลุ่ม (group) ใด ๆ โดยไม่ถามความสมัครใจของเจ้าตัวก่อน และเมื่อขอเข้ากลุ่มใดและผู้ดูแลกลุ่มอนุมัติแล้วควรเข้าไปขอบคุณ และแนะนำตัว หรือฝากตัวทันที การพูดคุยสนทนาในกลุ่มควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของบุคคลอื่น

11. ไม่แอดใครสุ่มสี่สุ่มห้า หรือแอดดะ ควรแอดเฉพาะคนที่รู้จักกันมาก่อน หรือคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อน หากต้องการแอดคนที่มีความสนใจร่วมกันแต่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน หากเขาไม่รับแอดก็อาจส่งข้อความ (หลังไมค์) ไปแนะนำตัว

12. ไม่ควรแอดเฟซบุคส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง นักการเมือง นักกีฬา ควรหาแฟนเพจ (Fan page) แล้วกด like หน้าเพจนั้น ในทางกลับกันบุคคลสาธารณะข้างต้น รวมถึงบริษัทห้างร้าน หน่วยงาน รายการโทรทัศน์ ก็ไม่ควรใช้บัญชีเฟซบุคส่วนตัวในการสื่อสารกับลูกค้าและแฟนรายการ ควรตั้งเป็นแฟนเพจต่างหาก (สร้างแฟนเพจ ที่นี่ http://www.facebook.com/pages/create.php)

13. ระวังบุคคลที่แอดมา โดยมีข้อน่าสงสัยว่าจะเป็นพวก tag โฆษณา หรือพวกสร้างตัว"อวตาร" (Avatar) คือใช้รูปโพรไฟล์เป็นบุคคลอื่นและพยายามแสดงออกด้วยบุคคลิกของบุคคลอื่นนั้น

14. ไม่ควร tag รูปที่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของเพื่อน  เพราะเมื่อมีคนมาเม้นท์เยอะอาจสร้างความรำคาญให้เพื่อนที่ถูก tag ได้

15. เรื่องสำคัญที่อาจเป็นความลับ หรือเรื่องที่เพื่อนไม่อยากให้คนอื่นรู้ ไม่ควรโพสต์ถามหน้าวอล ควรส่งข้อความไปหาหลังไมค์

16. ไม่ควรส่งคำเชิญ หรือคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับเกมส์ไปยังเพื่อนที่ไม่ได้เล่นเกมส์นั้น เพราะสร้างความรำคาญอย่างมาก

17. ไม่ควรชวนเพื่อนคุยในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโพสต์นั้น เพราะคนที่มาเม้นท์ก่อนหน้าอาจรู้สึกรำคาญได้

18. การกดไลก์เป็นการให้กำลังใจกับผู้โพสต์ทางหนึ่ง ถ้าไม่รู้จะเม้นท์อะไร

19. ควรใช้เฟซบุคให้ตรงกับคุณสมบัติของแต่ละกลไก บัญชีเฟซบุคส่วนตัว แฟนเพจ กรุ๊ป มีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งาน
บัญชีเฟซบุคส่วนตัว หรือที่เรียกว่า  Timeline เป็นเรื่องส่วนตัวของเราโดยแท้ เป็นพื้นที่ของเราที่เรามีเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกอย่างเต็มที่เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี เป็นสิ่งที่ไว้ใช้ติดต่อกับญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและคนรู้จัก

แฟนเพจ มีไว้สำหรับแฟนคลับที่มีความสนใจร่วมกันในบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกัน
เช่น เพจสามก๊ก http://www.facebook.com/samkokview
เพจ STAR WARS THAI http://www.facebook.com/starwarsthai

กรุ๊ป มีไว้พูดคุยในกลุ่มวงของเพื่อน ชมรม หรือผู้สนใจเรื่องเดียวกันที่ต้องการ "จำกัด" หรือ "คัดกรอง" สมาชิก
เช่น กรุ๊ปสามก๊ก http://www.facebook.com/groups/samkok/
กรุ๊ปย้อนรอยการ์ตูนดังในอดีต http://www.facebook.com/groups/theremembrancecartoonsfanclubpage/

20. ทุกอย่างมี  "ขอบเขต"  มี "เส้นแบ่ง" การคบกันบนเฟซบุคไม่ควร "ล้ำเส้น" กัน
 ด้วยจิตคารวะ


Courtesy plays go on Facebook.


Are only "guidelines" for the use of Facebook and the "creative" it is not "mandatory Kaeknฑs" What would be better, but if not less.

First. Should use gentle words. Avoid the use of obscenities severe. Damn severe. If required. Consonant or consonant instead should put some points such as t ... gear etc.

. 2 to add one. I had already been. I should go post. Nice to meet you. And introduction for people who have just known. Or even known to exist, then it should go say hello.

Three. Should not be inquisitive about privacy. The fan in your family or friends go on Facebook. Unless the person concerned does not wish to conceal.

Four. Should go to a birthday party with friends in Fez. (Or only those who know the truth) do not have disabilities. If you should wish to go back.

5. Did not want to use myself as a profile. Should have its own real live album for others to add to the ones we see who we are.

6th. Should specify that the interface is clear that a woman or a man.

Seven. Pressing like or I like to comment on the wind direction as well. Should not provoke a post.

8th. Share or share a link or post pictures of others should notice I shared. Or at least like to be the first.

9th. Supervisors, parents should not go on Facebook to "shine" a subordinate and his descendants.

10th. Should not add anyone to the group (group) without any question the willingness of the person concerned before. And on request to any group and administrators group should be approved and recommended to appreciate or P immediately. The conversation group should honor and respect the views of others.

11th. Anyone blindly or not I should add, Wada I only known before. Or people who are friends of friends. If you want to add people who have common interests, but have never known before. If he does not add, it may send a message (Mike) to introduce myself.

12th. Should I go on Facebook's public figures such as politicians, athletes, actors, singers should find the fan page (Fan page), then press Page like that in return the public. Corporate entities include television. It should not be used for personal Facebook accounts to communicate with their customers and fans. I should set a separate page (a fan page here http://www.facebook.com/pages/create.php).

13th. Careful who I was. There is little doubt that they tag their ads or create an "Avatar" (Avatar) is profiles using the other person and try to express the personality of the other person is.

14th. Should tag that does not look like or close to any part of your body. Because when people Mamet may have been a nuisance to tag them.

15th. Matter that may be confidential. Or friends would not want others to know. Do not post the wallpaper page. Should send a message to Mike.

16th. Should send invitations or requests regarding games to friends who do not play that game. It is very annoying.

17th. Should not invite your friends to talk about other issues not related to the post. Because people might be annoyed by the previous Executive.

18. The press line features an encouragement to post one. If the Department does not know anything.

19th. Should go on Facebook to match the properties of each algorithm. Facebook fan page and a personal account group differences in terms of usage.
- Personal accounts and go on Facebook. Also known as the Timeline is our personal favorite. Is an area where we have freedom of thought and expression fullest extent not inconsistent with law and morality. It is used to communicate with relatives. Friends and acquaintances.

- Fan page is for the fans who have a common interest in a particular person or thing together.
The third page http://www.facebook.com/samkokview.
Page STAR WARS THAI http://www.facebook.com/starwarsthai.

- There is talk among the group of friends who care about the club or to "limit" or "filter" members.
The Group Three Kingdoms http://www.facebook.com/groups/samkok/.
Cartoon Group retrace the past. http://www.facebook.com/groups/theremembrancecartoonsfanclubpage/.

20th. Everything with "scope" and "line" to me on Facebook and should not "cross the line" together.
 With spiritual reverence.


Ulead Video Studio 9
Ulead Video Studio 9 เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่มีการใช้งานไม่ยากจนเกินไป แม้ผู้ที่เริ่มใช้งานก็สามารถที่จะสร้างวีดีโอได้เหมือนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตัดต่อวีดีโอมานาน โปรแกรมนี้มีเครื่องมือต่างๆ สำหรับตัดต่อวีดีโออย่างครบถ้วน เริ่มตั้งแต่จับภาพจากกล้องเข้าคอมพิวเตอร์ ตัดต่อวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ แทรกดนตรีประกอบ แทรกคำบรรยาย ไปจนถึงบันทึกวีดีโอที่ตัดต่อกลับลงเทป, VCD, DVD หรือแม้กระทั่งเผยแพร่ผลงานทางเว็บ
โปรแกรม Ulead มีการทำงานเป็นขั้นตอนที่ง่าย ตั้งแต่จับภาพ ตัดต่อไปจนถึงเขียนลงแผ่น นอกจากนี้แล้ว โปรแกรมยังมีเอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ อีกมากมาย ไตเติ้ลสำเร็จรูปแบบมืออาชีพ รวมทั้งยังมีเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างซาวนด์แทร็คอย่างง่ายๆ อีกด้วย
ในการสร้างวีดีโอนั้น เริ่มแรกจับภาพวีดีโอจากกล้องหรือว่าดึงไฟล์วีดีโอจากแผ่น VCD/DVD เข้ามา จากนั้นก็ตัดแต่งวีดีโอที่จับภาพมา เรียงลำดับเหตุการณ์ ใส่ทรานสิชั่น (transtion - เอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ระหว่างคลิปวีดีโอ ทำให้การเปลี่ยนคลิปวีดีโอจากคลิปหนึ่งไปยังอีกคลิปหนึ่งน่าดูยิ่งขึ้น) ทำภาพซ้อนภาพ ใส่ไตเติ้ล ใส่คำบรรยาย แทรกดนตรีประกอบ ซึ่งส่วนต่างๆ เหล่านี้จะแยกแทร็คกัน การทำงานในแต่ละแทร็คจะไม่มีผลกระทบกับกับแทร็คอื่นๆ เมื่อทำเสร็จแล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือ การเขียนวีดีโอลงแผ่น
การตัดต่อใน Ulead นั้น จะสร้างเป็นไฟล์ project ขึ้นมา (.VSP) ซึ่งไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้ หากว่าทำงานยังไม่เสร็จก็สามารถเปิดเพื่อทำงานต่อในภายหลังได้ ไฟล์นี้จะมีขนาดเล็ก การตัดต่อวีดีโอนี้ แม้จะตัดต่ออย่างไรในวีดีโอ ก็จะไม่มีผลกระทบต่อไฟล์ต้นฉบับ ข้อมูลการตัดต่อต่างๆ จะบันทึกอยู่ในไฟล์project ทั้งหมด แต่เมื่อมีการสร้างวีดีโอที่ได้จากการตัดต่อ โปรแกรมอ่านข้อมูลจากต้นฉบับตามข้อมูลที่อ้างอิงในไฟล์ project นี้



เริ่มต้นใช้งาน

เมื่อเปิดโปรแกรม จะปรากฏหน้าจอให้เลือกโหมดในการตัดต่อวีดีโอดังต่อไปนี้

  • DV-to-DVD Wizard เป็นการจับภาพจากกล้องวีดีโอ ใส่ธีม แล้วก็เขียนเป็น DVD
  • VideoStudio Movie Wizard เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มตัดต่อวีดีโอ จะมีขั้นตอนแนะนำตั้งแต่เริ่มจับภาพ/นำไฟล์วีดีโอเข้ามา เลือกเทมเพลต แล้วก็เขียนวีดีโอลงแผ่น ด้วยขั้นตอนอย่างง่ายๆ หรือจะนำวีดีโอที่ได้ไปตัดต่อกับ VideoStudio Editor ก็ได้อีกเช่นกัน
VideoStudio Editor โหมดนี้ให้คุณได้ใช้คุณลักษณะการตัดต่อวีดีโอของ Ulead ได้อย่างเต็มที่ เรียกได้ว่ามีเครื่องมือครบทุกอย่างในการสร้างแผ่น VCD/DVD จากกล้องวีดีโอดิจิตอล เริ่มตั้งแต่ จับภาพ/เพิ่มคลิปวีดีโอ ใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ใส่ตัวหนังสือ ทำภาพซ้อน ใส่คำบรรยาย ดนตรีประกอบ ไปจนถึงเขียนวีดีโอลงบนแผ่นCD/DVD หรือนำไฟล์ไปเผยแพร่บนเว็บ
Tip : หากคลิกที่ปุ่ม 16:9 จะเป็นการสร้างโครงการของคุณเป็นแบบ widescreen

ในที่นี้จะสอนเฉพาะการใช้งานแบบ VideoStudio Editor เท่านั้น เมื่อเลือกรายการ VideoStudio Editor แล้วก็สามารถสลับไปยังรายการอื่นๆ ได้โดยเลือกรายการจากเมนู Tools

ส่วนติดต่อกับผู้ใช้
1.            Step Panel

กลุ่มของปุ่มที่ใช้สลับไปมาในขั้นตอนต่างๆ ของการตัดต่อวีดีโอ เช่น ต้องการจับภาพจากกล้องวีดีโอก็คลิกปุ่ม Capture หากต้องการแก้ไข/ตัดต่อวีดีโอ คลิกปุ่ม Edit ต้องการใส่ข้อความในวีดีโอ คลิกปุ่ม Titleเป็นต้น

2.            Menu Bar

แถบเมนูของชุดคำสั่งต่างๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ เปิดโครงการ บันทึกโครงการ เป็นต้น

3.            Options Panel

ส่วนนี้จะมี ปุ่มและข้อมูลอื่นๆ ที่ให้คุณได้ปรับแต่งคลิปที่คุณเลือกไว้ ฟังชั่นก์ต่างๆ ในส่วนนี้จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีฟังก์ชั่นต่างๆ สำหรับจัดการกับคลิปวีดีโอ หรือคุณเลือกเสียง ก็จะมีฟังก์ชั่นสำหรับการจัดการเรื่องเสียง เป็นต้น

4.            Preview Window

หน้าต่างแสดงคลิปปัจจุบันตัวกรองวีดีโอ, เอฟเฟ็กต์หรือตัวหนังสือ ต้องการดูผลลัพธ์ของการตัดต่อต่างๆ สามารถดูได้ในหน้าต่างนี้

5.            Navigation Panel

มีปุ่มสำหรับเล่นคลิปวีดีโอและสำหรับตัดวีดีโอ ในขั้นตอนการจับภาพส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ควบคุมกล้องวีดีโอ เช่น เล่นวีดีโอ หยุด หยุดชั่วขณะ กรอไปข้างหน้า กรอกลับ เป็นต้น

6.            Library

เก็บและรวบรวมทุกอย่างไว้ ไม่ว่าจะเป็น วีดีโอ, เสียงภาพนิ่งเอฟเฟ็กต์ต่างๆ เป็นต้น ทำให้สะดวกในการเรียกใช้งาน

7.            Timeline

แสดงคลิปตัวหนังสือและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่อยู่ในโครงการ



Step Panel

ส่วนนี้เป็นส่วนของขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ ขั้นตอนเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องทำทุกขั้นตอน หรือข้ามขั้นตอนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตัดต่อวีดีโอของคุณเอง

ขั้นตอนตัดต่อคือ

1.            Capture (จับภาพจากกล้อง/ดึงข้อมูลวีดีโอจากแผ่น CD/DVD)

2.            Edit (แก้ไข/ตัดต่อ)

3.            Effect (ใส่เอ็ฟเฟ็กต์)

4.            Overlay (ทำภาพซ้อน)

5.            Title (ใส่ตัวหนังสือ)

6.            Audio (ใส่ดนตรีประกอบ/บันทึกเสียงบรรยาย)

7.            Share (บันทึกวีดีโอที่ตัดต่อแล้ว ลงสื่อต่างๆ)

ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น สามารถข้ามไปยังส่วนอื่นได้ เช่น อาจจะไปใส่ดนตรีประกอบก่อน แล้วมาใส่ตัวหนังสือภายหลังก็ได้ หรือเมื่อตัดต่อเสร็จในข้อ 2 แล้วก็อาจจะไปเลือกข้อ 7 เพื่อเขียนลงแผ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคุณจะตัดต่อวีดีโออย่างไร และต้องทำอะไรบ้างในการตัดต่อ

ขั้นตอนต่างๆ ในการตัดต่อวีดีโอ


เมื่อเปิด project ใน Ulead แล้ว ในขั้นตอน Capture นี้ คุณสามารถที่จะบันทึกวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเป็นไฟล์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ วีดีโอที่บันทึกจากกล้องลงคอมพิวเตอร์นั้น สามารถที่จะบันทึกเป็นไฟล์เพียงไฟล์เดียว หรือให้แยกเป็นไฟล์ได้หลายๆ ไฟล์โดยอัตโนมัติ และในขั้นตอนการจับภาพนี้ นอกจากคุณจับภาพวีดีโอแล้วยังสามารถที่จะบันทึกภาพจากวีดีโอเป็นภาพนิ่งได้อีกด้วย


ขั้นตอนการแก้ไขและ Timeline นี้ เป็นจุดสำคัญของการใช้ Ulead VideoStudio ในขั้นตอนนี้คุณสามารถที่จะเรียงลำดับคลิปวีดีโอ ที่ถ่ายมาแต่ไม่ได้เรียงลำดับเหตุการณ์กัน ก็มาเรียงลำดับเหตุการณ์ในขั้นตอนนี้ หรือแทรกคลิปวีดีโออื่นๆ เข้ามาในกระบวนการตัดต่อ เช่น หลังจากที่คุณจับภาพมาจากกล้องแล้ว เห็นว่าคลิปวีดีโอที่มีอยู่ในเครื่อง เหมาะสม น่าที่จะนำมาแทรกในบางช่วงของวีดีโอที่คุณกำลังตัดต่อ ก็สามารถทำได้ กรณีที่มีคลิปวีดีโอเพียงไฟล์เดียว เช่น จับภาพวีดีโอมาเป็นไฟล์เดียว ไม่ได้แยกไฟล์เป็นหลายๆ ส่วน ก็สามารถตัดแยก scene วีดีโอได้ เพื่อใส่เอ็ฟเฟ็กต์ระหว่าง scene ลบคลิปวีดีโอที่ไม่ต้องการออก ตัดคลิปวีดีโอบางส่วนที่ถ่ายเสียหรือไม่ต้องการออก และการใส่วีดีโอฟิลเตอร์ (เช่น การใส่ตัวฟิลเตอร์ฝนตกในคลิปวีดีโอ ทำให้คลิปวีดีโอนั้นดูเหมือนมีฝนตกจริงๆ ) ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เช่นกัน




ในขั้นตอนนี้ ให้คุณสามารถใส่ทรานสิชั่น (transition) ระหว่างคลิปวีดีโอใน project ซึ่งใน Ulead นี้จะมีกลุ่มของทรานสิชั่นต่างๆ ให้เลือกอย่างมากมายใน Library

ทรานสิชั่น เป็นเอ็ฟเฟ็กต์ที่ใส่ไว้ในระหว่างคลิป ทำให้วีดีโอดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ฉากที่ค่อยๆ จางหายไปจนมืด แล้วก็มีฉากถัดไปที่จางแล้วค่อยๆ ชัดเจนขึ้น หรือ ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนฉากนั้น จะมีภาพซ้อนกันของทั้งสองฉาก เป็นต้น นี่เป็นการใส่ทรานสิชั่นนั่นเอง

ขั้นตอนนี้เป็นการซ้อนคลิปวีดีโอบนคลิปวีดีโอที่มีอยู่ เหมือนกับที่เราดูโทรทัศน์ ที่มีการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับดารา แล้วก็มีกรอบเล็กๆ เป็นภาพของดาราที่กำลังดูบุคคลอื่นพูดถึงตนเองอยู่
ใส่ตัวหนังสือในวีดีโอ เช่น ชื่อเรื่องวีดีโอ แสดงชื่อบุคคล หรือตัวหนังสือปิดท้ายวีดีโอ ใครถ่ายทำ ถ่ายเมื่อไหร่ ที่ไหน เป็นต้น สามารถที่จะสร้างตัวหนังสือแบบเคลื่อนไหวได้ มีมากมากหลายแบบ เช่น ตัวหนังสือลอยจากจอภาพด้านล่างขึ้นไปด้านบน เหมือนกับตัวหนังสือเมื่อดูภาพยนตร์ตอนจบ หรือจะวิ่งจากด้านขวามือมาซ้ายมือ หรือจะเลือกชุดสำเร็จรูปจาก Library ก็ได้


ขั้นตอนนี้สำหรับใส่ดนตรีประกอบวีดีโอ สามารถเลือกเพลงจากแผ่น CD แล้วบันทึกมาเป็นไฟล์ทำดนตรีประกอบได้ บันทึกเสียงบรรยายวีดีโอ รวมทั้งการปรับแต่งเสียงต่างๆ เช่น ลดเสียงในวีดีโอต้นฉบับในบางช่วงขณะที่บันทึกเสียงบรรยายลงไป เพื่อให้ได้ยินเสียงบรรยายชัดเจนมากยิ่งขึ้น หรือปรับระดับเสียงของดนตรีประกอบ เป็นต้น


ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เมื่อตัดต่อวีดีโอเสร็จแล้ว ก็จะเป็นสร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงาน สามารถทำได้หลายแบบ เช่น สร้างไฟล์วีดีโอสำหรับเผยแพร่ผลงานบนเว็บ เขียนวีดีโอที่ตัดต่อเสร็จแล้วกลับลงเทปอีกครั้ง เขียนลงแผ่น CD เป็น VCD หรือเขียนลง DVD 
Menu Bar

แถบเมนูนี้ เป็นที่รวมของคำสั่งต่างๆ มากมาย
File menu

  • New Project: สร้างไฟล์โครงการของ Ulead VideoStudio ใหม่ จะล้างพื้นที่ทำงานที่มีอยู่และเปิดโครงการใหม่ด้วยการตั้งค่าตามที่ระบุไว้ ในกรอบโต้ตอบ New ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก เปิดไว้ในพื้นที่ทำงาน เมื่อคุณคลิก New Project Ulead VideoStudio จะมีข้อความแจ้งให้คุณบันทึกงานก่อน
  • Open Project: เรียกกรอบโต้ตอบ Open เพื่อเลือกไฟล์โครงการของ Ulead VideoStudio (VSP) เพื่อแทนที่ในพื้นที่ทำงาน ถ้าคุณมีโครงการที่ยังไม่ได้บันทึก เปิดใช้งานอยู่ในพื้นที่ทำงาน จะมีข้อความปรากฏให้คุณบันทึกการเปลี่ยนแปลงก่อน
  • Save/Save As: อนุญาตให้คุณบันทึกงานของคุณเป็นโครงการใหม่หรือโครงการที่มีอยู่แล้ว (*.VSP).โปรแกรมจะเปิดกรอบโต้ตอบ Save As ให้คุณกำหนดเส้นทางและชื่อไฟล์ที่จะบันทึก
  • Project Properties: แสดงกรอบโต้ตอบ Project Properties ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่กำลังเปิดอยู่ ตรงนี้ คุณสามารถที่จะแก้ไขแอททริบิวส์เทมเพลตของไฟล์โครงการได้
  • Preferences: เปิดกรอบโต้ตอบ Preferences ที่คุณสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมการทำงานของUlead VideoStudio ได้ (See "Preferences: File menu").
  • Relink: แสดงกรอบโต้ตอบ Relink แจ้งให้คุณทำการเชื่อมโยงซ้ำคลิกที่เลือกไว้เมื่อมีความจำเป็น ถ้าคุณย้ายโฟลเดอร์ที่มีไฟล์ต้นแบบไปยังไดเร็คทอรี่อื่น เลือก Smart search ในกรอบโต้ตอบ Relink เมื่อคุณทำการเชื่อมโยงรูปภาพเล็ก (thumbnail) ซ้ำอีกครั้ง Ulead VideoStudio จะทำการเชื่อมโยงซ้ำไฟล์ต้นแบบทุกไฟล์ในไดเร็คทอรี่โดยอัตโนมัติ
  • Insert Media File to Timeline: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณค้นหาวีดีโอ, DVD/DVD-VR,รูปภาพหรือเสียง, และจากนั้นจึงแทรกเข้าไปในแทร็ค
  • Insert Media File to Library: แสดงป๊อบ-อัพเมนูที่อนุญาตให้คุณได้เลือกวีดีโอ, DVD/DVD-VR,ภาพ, หรือเสียงแล้วแทรกไปไว้ใน Library
  • Exit: ปิดโปรแกรม Ulead VideoStudio แสดงกรอบข้อความให้คุณบันทึกโครงการที่ทำงานอยู่ ในกรณีที่คุณยังไม่ได้บันทึกโครงการ
Edit menu
  • Undo: ย้อนกลับการกระทำที่ผ่านมาที่คุณได้กระทำในโครงการของคุณ Ulead VideoStudio อนุญาตให้คุณย้อนกลับการทำงานล่าสุดได้ถึง 99 ครั้ง จำนวนของขั้นตอนที่คุณยกเลิกกระทำ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ในเมนู File: Preferences (See "General tab").
  • Redo: อนุญาตให้คุณย้อนกลับคำสั่ง ยกเลิกทำ ได้ถึง 99 ครั้งที่คุณได้กระทำมา คุณสามารถกำหนดจำนวนขั้นตอนการทำซ้ำได้ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าที่คุณได้ระบุไว้ในแท็บ General ใน เมนู File: Preferences
  • Copy: คัดลอกคลิปสื่อที่ได้เลือกไว้ไปยังคลิปบอร์ด ดังนั้นจึงสามารถที่จะวางไว้ในโฟลเดอร์ไลบรารี่ได้
  • Paste: วางคลิปสื่อที่ได้คัดลอกไว้ไปยังโฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้
  • Delete: ลบคลิกที่เลือกไว้ออกจากแทร็ค/โฟลเดอร์ไลบรารี่ที่เลือกไว้
Clip menu
  • Change Image/Color Duration: เปิดกรอบโต้ตอบ Duration ที่คุณสามารถเปลี่ยนความยาวของคลิป
  • Mute: ปิดเสียงของคลิปวีดีโอ. ตัวเลือกนี้ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใส่ดนตรีประกอบไปยังคลิปที่ระบุ
  • Fade-in: ค่อยๆ เพิ่มเสียงของคลิปจากเงียบไปจนถึงดังสุด
  • Fade-out: ค่อยๆ ลดเสียงของคลิปจากดังสุดไปจนถึงเงียบสุด
  • Cut Clip: ตัดคลิปวีดีโอหรือเสียเป็นสองคลิป ด้วยการเลือกคลิปแล้ว ย้าย Jog Slider ที่อยู่ใต้หน้าต่างพรีวิวไปยังจุดที่คุณต้องการตัดคลิป
  • Multi-trim Video: เปิดกรอบโต้ตอบ Multi-trim Video คุณสามารถเลือกตัดส่วนไฟล์วีดีโอที่ต้องการหรือไม่ต้องการออก ได้หลายๆ ส่วนให้เหลือเฉพาะส่วนที่ต้องการ
  • Split by Scene: เปิดกรอบโต้ตอบ Scenes ที่คุณสามารถแยกไฟล์วีดีโอโดยอาศัยหลักการของเนื้อหาของเฟรมหรือวันที่บันทึกภาพ เป็นตัวแยกไฟล์วีดีโอออกเป็น scene ตัวเลือกนี้สามารถใช้ได้กับคลิปที่อยู่ในไลบรารี่ได้ คือแม้เป็นไฟล์วีดีโอที่รวม scene มาแล้วก็สามารถใช้คำสั่งนี้แยกได้เหมือนกัน
  • Save Trimmed Video: ตัดส่วนที่เลือกไว้และบันทึกเป็นไฟล์วีดีโอใหม่ หลังจากการตัดวีดีโอแล้ว รูปภาพเล็กของไฟล์วีดีโอใหม่จะปรากฏในไลบรารี่
  • Save as Still Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันไปหน้าต่าง Preview Window เป็นรูปภาพใหม่. ภาพขนาดเล็กของรูปภาพใหม่นี้จะปรากฏอยู่ใน Library.
  • Export: จัดเตรียมหลายๆ ทางเลือกในการส่งออกและเผยแพร่หนังของคุณ: 
    Ulead DVD DiskRecorder: อนุญาตให้คุณบันทึกหรือเพิ่มวีดีโอของคุณไปยังอุปกรณ์ที่สนับสนุนDVD-RAM (ใช้ฟอร์แมต DVD-VR ) หรือ DVD-R. 
    DV Recording: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณส่งตรงและบันทึกข้อมูลวีดีโอไปยังกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์บันทึก DV อื่นๆ 
    Web Page: อนุญาตให้คุณใส่คลิปหรือไฟล์หนังบนเว็บเพจ 
    E-mail: เปิดโปรแกรมรับส่งอีเมล์ (เช่น Outlook Express) และแนบคลิปวีดีโอหรือไฟล์หนังที่เลือกไว้ 
    Greeting Card: เปิดกรอบโต้ตอบอนุญาตให้คุณสร้างการ์ดอวยพรแบบสื่อผสมโดยใช้คลิปหรือไฟล์หนังที่คุณเลือกไว้ 
    Movie Screen Saver: บันทึกคลิปที่เลือกไว้เป็น screen saver บนเดสค์ทอป. คุณสามารถส่งออกเฉพาะไฟล์ WMV เป็น screen saver เท่านั้น
  • Properties: แสดงข้อมูลเกี่ยวกับคลิปที่เลือกไว้
Tools menu
·         VideoStudio DV-to-DVD Wizard: เปิด DV to DVD Wizard ที่อนุญาตให้คุณจับภาพวีดีโอจากกล้องถ่ายวีดีโอดิจิตอล (DV camcorder) แล้วเขียนลงแผ่นดิสก์

·         VideoStudio Movie Wizard: เปิด Movie Wizard ที่อนุญาตให้คุณสร้างหนังได้อย่างรวดเร็ว (See "Movie Wizard").

·         Create Disc: อนุญาตให้คุณนำออกโครงการของคุณ (พร้อมกับโครงการของ VideoStudio หรือวีดีโออื่นๆ) เพื่อสร้าง VCD, SVCD, หรือ DVD.

·         Select Device Control: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถตั้งการควบคุมอุปกรณ์ได้ ส่วนนี้จะอนุญาตให้คุณได้ควบคุมอุปกรณ์กล้องวีดีโอดิจิตอลโดยใช้ Navigation Panel.

·         Change Capture Plug-in: แสดงกรอบโต้ตอบ Change Capture Plug-in ที่อนุญาตให้คุณเลือก plug-in สำหรับ capture driver.

·         Batch Convert: เปิดกรอบโต้ตอบ Batch Convert ที่คุณสามารถเลือกวีดีโอหลายๆ ไฟล์ที่มีฟอร์แมตแตกต่างกันและแปลงเป็นไฟล์วีดีโอฟอร์แมตเดียวกัน

·         Full Screen Preview: แสดงขนาดพรีวิวที่แท้จริงของโครงการของคุณโดยใช้จอ PC or จอ TV ส่วนนี้จะพบในขั้นตอน Capture และ Share

·         Save Current Frame as Image: บันทึกเฟรมปัจจุบันในหน้าต่างดูภาพ (preview) เป็นภาพนิ่งเก็บไว้ใน Library

·         Make Movie Manager: สร้างและจัดการ template ที่บรรจุข้อมูลทุกอย่าง (ฟอร์แมตไฟล์ระดับเฟรม (frame rate), การบีบอัด เป็นต้น) ที่ต้องการเพื่อสร้างไฟล์วีดีโอจากโครงการ. หลังจากที่คุณสร้างtemplate, เมื่อคุณคลิกสร้างไฟล์วีดีโอในขั้นตอน Share จะมีตัวเลือกให้คุณได้ใช้ template นั้น

·         Preview Files Manager: เปิดกรอบโต้ตอบ Preview Files Manager , แสดงรายชื่อไฟล์พรีวิวทั้งหมดที่สร้างในโครงการ.คุณสามารถเลือกลบไฟล์พรีวิวได้,

·         Library Manager: อนุญาตให้คุณสร้างโฟลเดอร์ใน Library ได้

·         Product Codec Information: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดู codec ของ Ulead ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว หรือซื้อ codec จาก Ulead

·         Smart Download: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถดาวน์โหลดส่วนประกอบสำหรับ VideoStudio.

·         Print Options: เปิดกรอบโต้ตอบที่คุณสามารถระบุการตั้งค่าสำหรับการพิมพ์ภาพนิ่ง

Help menu


  • Ulead VideoStudio Help: แสดงความช่วยเหลือเกี่ยวกับ Ulead VideoStudio.
  • Online Registration: เปิดหน้าเว็บลงทะเบียนออนไลน์ของ Ulead VideoStudio ในเบราเซอร์
  • Product Updates on the Web: เปิดหน้าเว็บเบราเซอร์โดยอัตโนมัติและนำคุณไปยังเว็บไซต์ของUlead เพื่อลงทะเบียนออนไลน์
  • About Ulead VideoStudio: แสดงรุ่นของโปรแกรมและข้อมูลลิขสิทธิ์

  • Options Panel

    Options Panel นี้จะเปลี่ยนไปตามโหมดของโปรแกรมและขั้นตอนหรือแทร็คที่คุณกำลังทำงานอยู่ เช่น คุณเลือกคลิปวีดีโอ ก็จะมีตัวเลือกอีกอย่าง เมื่อเลือกรูปภาพ ก็จะมีตัวเลือกอีกอย่าง Options Panelอาจจะมีเพียงแท็บเดียวหรือสองแท็บก็ได้ การควบคุมและตัวเลือกในแต่ละแท็บแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับคลิปที่คุณเลือก


  • Navigation Panel

    Navigation Panel นี้เป็นส่วนสำหรับควบคุมต่างๆ แยกหน้าที่ตามโหมดของการทำงาน

    Navigation Panel ใช้สำหรับดูภาพและแก้ไขคลิปในโครงการ ใช้ Navigation Controls เลื่อนไปมาทั้งในคลิปหรือโครงการ ใช้ Trim Handles และ Jog Slider ในการแก้ไขคลิป

    เมื่อจับภาพวีดีโอจากกล้องวีดีโอดิจิตอล Navigation Controls ใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ ใช้ปุ่มต่างๆ เพื่อควบคุมกล้องวีดีโอดิจิตอล หรืออุปกรณ์อื่นๆ


  • 1 Play Mode
    เลือกว่าคุณจะดูวีดีโอ (preview) ทั้งโครงการหรือว่าเฉพาะคลิปที่เลือก


    2 Play
    ดูวีดีโอทั้งโครงการปัจจุบันหรือว่าคลิปที่เลือกไว้, หยุดชั่วขณะ หรือว่าดูวีดีโอต่อ


    3 Home
    กลับไปที่เฟรมแรกของวีดีโอ


    4 Previous
    ถอยกลับไปยังเฟรมที่แล้ว


    5 Next
    ไปยังเฟรมถัดไป


    6 End
    ไปยังเฟรมสุดท้ายของวีดีโอ


    7 Repeat
    กำหนดให้เล่นซ้ำ


    8 System Volume
    คลิกแล้วลากตัวเลื่อนเพื่อปรับความดังของเสียงลำโพง


    9 Timecode
    คุณสามารถไปยังส่วนต่างๆ ของโครงการหรือคลิปที่เลือกไว้ได้อย่างง่ายดาย เพียงระบุเวลาของคลิปตรงจุดนี้


    10 Mark-in/out 
    ใช้ปุ่มเหล่านี้ในการกำหนดขอบเขตของการพรีวิวในโครงการ, หรือกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของคลิป


    11 Jog Slider 
    ใช้เลื่อนไปมาทั้งในโครงการหรือคลิปเพื่อดูเฟรม ณ ตำแหน่งของ Jog Slider หรือใช้สำหรับกำหนดจุดตัดคลิปออกเป็นส่วนๆ


    12 Trim Handles
    ใช้สำหรับกำหนดขอบเขตของการพรีวิวในโครงการ หรือกำหนดขอบเขตของคลิปที่จะเหลือไว้ใช้งาน


    13 Cut Clip
    ใช้สำหรับตัดคลิปที่เลือกออกเป็น 2 ส่วน เลื่อน Jog Slider ไปยังจุดที่คุณต้องการตัด จุดนี้เป็นเฟรมสุดท้ายของคลิปแรกและเป็นเฟรมแรกของคลิปที่สอง แล้วคลิกที่ปุ่มกรรไกรนี้ คลิปจะแยกออเป็น 2 ส่วน


    14 Enlarge Preview Window
    คลิกเพื่อขยายขนาดของหน้าต่างดูภาพ (preview) คุณสามารถดูได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขคลิปได้เมื่อหน้าต่างดูภาพขยายใหญ่


    การควบคุมกล้องวีดีโอดิจิตอลด้วย Navigation Panel 

    เมื่อจับภาพจากกล้องวีดีโอดิจิตอล ใช้ Navigation Panel กรอเทปและหาตำแหน่งของ scene ที่ต้องการจับภาพ


  • 1 Shuttle Control
    ลาก Shuttle Control เพื่อกรอเทปไปข้างหน้าและหลังตามระดับความเร็วที่มีอยู่ เป็นการค้นหา sceneในวีดีโอที่ต้องการดูได้อย่างรวดเร็ว


    2 Play
    เล่นเทป/หยุดเล่นเทปชั่วขณะ


    3 Stop
    หยุดเล่นเทป


    4 Rewind
    กรอกลับเทป


    5 Preview Frame
    ถอยหลังทีละเฟรม


    6 Next Frame
    ไปข้างหน้าทีละเฟรม


    7 Forward
    กรอเทปไปข้างหน้า


    8 System Volume
    คลิกและลาก slider เพื่อปรับความดังเสียงของลำโพง



    การใช้งาน Google Site


สำหรับการทำงานเพิ่มเติม เราสามารถทำอะไรได้บ้าง มาดูกันเลย ก่อนอื่นเราจะต้องไปที่ ปุ่ม"การทำงานเพิ่มเติม" จากนั้นแล้วเราค่อยเลือกว่าเราจะทำอะไร ดังรูป



1.ถ้าเราต้องการเปลี่ยน "สีและแบบอักษร" ในส่วนนี้จะเป็นการแก้ไขเว็บไซต์ทั้งเว็บเลย เช่น เปลี่ยนสีของข้อความ พื้นหลัง เป็นต้น


2.ถ้าเราต้องการเลือกใช้ ธีม ที่ Google กำหนดมา ดังรูป



3.เมื่อต้องการให้สมาชิกในกลุ่มของเรามาทำงานด้วยกัน เราจะเลือกที่ "การใช้งานร่วมกัน" จากนั้นพิมพ์อีเมล์ของเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม หรือคนที่เราต้องการจะให้ร่วมทำด้วยกัน จากนั้นคลิกปุ่ม เชิญบุคคลเหล่านี้ เสร็จแล้วคลิก ส่ง




4.เมื่อเราต้องการเปลี่ยนเค้าโครงของไซต์



5.เมื่อเราต้องการเลือกเพิ่มการนำทาง




หมายเหตุ เมื่อเราทำงานใดๆเสร็จแล้ว ให้เราคลิกบันทึกการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง จากนั้นคลิก "กลับสู่ไซต์" ห้ามคลิก Back โดยเด็ดขาด (ถ้าไม่จำเป็น)




ต่อไปเราจะมารู้จักกับการสร้างเมนูต่าง ๆ ในไซตืของเรากัน โดยเริ่มจาก คลิกที่ปุ่ม "สร้างหน้าเว็บ" จะได้ดังรูป







หลังจากนั้นให้เราพิมพ์ชื่อเมนูที่เราต้องการ (ภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) จากนั้นคลิกเลือก "วางหน้าเว็บไว้ระดับบนสุด" จากนั้นคลิกที่ "สร้างหน้าเว็บ" สำหรับส่วนที่ปรากฎตามรูปเราจะทำการเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ เพราะถ้าหากเราพิมพืเป็นภาษาไทย Google จะเป็นเป็นภาอังกฤษให้เราทันที (อาจจะไม่ตรงกับคำศัพท์เลยทีเดียว)



หลังจากที่เรารู้จักกับการแก้ไขหน้าเว็บแล้ว ต่อไปเรามาเรียนรู้การตกแต่งหน้าเว็บไซต์ของเรา เริ่มจากการใส่สีตัวอักษร มีวิธีการดังรูป (ก่อนที่จะใส่สีให้ทำแถบดำตรงที่ข้อความที่เราต้องการก่อนทุกครั้ง)

หลังจากนั้นเราจะมาดูวิธีการใส่รูปภาพกัน โดยคลิกที่ เมนู "แทรก" แล้วเลือก "รูปภาพ"ดังรูป


จะได้ดังรูป








เมื่อเลือกรูปได้แล้ว จากนั้นคลิก "ตกลง" หากต้องการรูปนั้น หลังจากนั้นให้ทำการย่อขยายรูปได้ตามใจชอบ เมื่อได้รูปภาพตามที่เราต้องการแล้ว ให้คลิกปุ่ม "บันทึก" จะได้ผลลัพธ์ดังรูป








การสร้างเว็บ-1

การแก้ไขหน้าเว็บไซต์

ในการแก้ไขหน้าเว็บไซต์นั้นเป็นการใส่ข้อความ รูปภาพ หรือสิ่งต่างๆเข้าไปในเว็บไซต์เรา ซึ่งก่อนที่เราจะแก้ไขหน้าเว็บนั้น เราจะต้องทำการสร้างไซต์ให้ได้ก่อน เมื่อเราทำการสร้างไซต์ได้แล้ว ต่อไปจะเป็นวิธีการแก้ไขหน้าเว็บไซต์ ตามมาดูขั้นตอนการแก้ไขหน้าเว็บกันดีกว่า


1.คลิกที่ "แก้ไขหน้าเว็บ" ดังรูป









จากนั้นพิมพ์ข้อความที่ต้องการ เมื่อเราได้ข้อความที่ต้องการแล้ว คลิกที่ปุ่ม "บันทึก" จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป








วิธีการสร้างเว็บไซต์ (Google Site)




ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างไซต์ เราจะต้องเป็นสมาชิกของ google ก่อน โดยการไปสมัครขอใช้ Gmail หลังจากนั้นพอเราได้ username มาแล้ว ให้เราไปที่เว็บ Google หลังจากนั้นให้ไปที่ เพิ่มเติม ดังรูปด้านล่าง





แล้วเลือก ไซต์ จะได้ดังรูป





หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม "สร้างไซต์ใหม่" จะปรากฎหน้าต่างโต้ตอบ แล้วคลิก Yes





จะได้ดังรูป






หลังจากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนต่าง ๆ ตามที่ปรากฎ เช่น ตั้งชื่อไซต์ (จะเป็นภาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้) เว็บไซต์ของคุณจะอยู่ที่ URL (Google จะตั้งให้เราอัตโนมัติหากเราไม่ต้องการเปลี่ยนเราจะใช้ตัวที่โปรแกรมตั้งให้ก็ได้หรือหากเราต้องการแก้ไขเราก็ทำการแก้ไขได้เลย โดยจะต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)

เมื่อเรากรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้คลิกปุ่ม "สร้างเว็บไซต์" (ถ้าสร้างได้จะปรากฎหน้าเว็บไซตืดังรูป)





























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น